ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่
ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ( พ.ศ. 2553 - 2557 ) เป็นการกำหนดว่าในอนาคตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่จะเป็นไปในทิศทางใด และเป็นเครื่องมือกำหนดแนวทางการพัฒนาของแผนพัฒนาตำบลสามปี(
พ.ศ. 2557 - 2559) ว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเพียงใด โดยมีรายละเอียดแนวทางการพัฒนา ดังนี้
วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่
“ตำบลหนองกุงใหญ่น่าอยู่
มีสาธูณปโภคทั่วถึง การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม
ที่โดดเด่น
บริหารแบบเป็นบูรณาการ โดยยึดหลักธรรมมาภิบาล
บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง”
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาตำบล
(1.)ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองและชุมชนให้น่าอยู่
แนวทางการพัฒนา
1.)
พัฒนาโครงสร้างด้านการคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณูปการให้ได้มาตรฐานและทั่วถึง
2.) พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนระบบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบบการรักษาความปลอดภัยให้ชุมชนปลอดภัย ปลอดยาเสพติด
โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม
(2).ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์และสังคม
แนวทางการพัฒนา
1.)สงเคราะห์และช่วยเหลือแก่ผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสในด้านการดำรงชีวิต ผู้สูงอายุ
ผู้พิการ เอดส์ ผู้ด้อยโอกาส
2.)พัฒนา ส่งเสริม
สนับสนุน
กระบวนการเรียนรู้ด้านการเกษตรในชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต การแปรรูป
สินค้าเกษตร ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจชุมชน
3.)
เพิ่มช่องทางในการรับรู้ข่าวสารให้แก่ประชาชน
4.)
แนวทางการพัฒนาการเสริมสร้างสุขอนามัยและการสาธารณสุข
5.)
ส่งเสริมสนับสนุนการกีฬา การออกกำลังกายเพื่อสร้างนิสัยรักการกีฬา กติกาสังคม ตลอด จนให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
(3.)
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
แนวทางพัฒนา
1.) พัฒนา
ฟื้นฟู ปรับปรุง แหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ
2.)
เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะ สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
3.) อนุรักษ์
ฟื้นฟู ปรับปรุง พื้นที่ป่า คุณภาพดินให้เกิดความสมบูรณ์
(4.
) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
แนวทางพัฒนา
1.)
ส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน
2.)ส่งเสริมสนับสนุนการส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษา โรงเรียนภายในตำบล
3.) อนุรักษ์
สืบสาน ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และค่านิยมที่ดีงาม ให้คงอยู่
(5.)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี
แนวทางพัฒนา
1.)
เสริมสร้างการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ทุกภาคส่วนให้เข้มแข็ง
เพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย
2.)
พัฒนาสมรรถนะในการทำงานของบุคลากร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย เพื่อการบริหารงาน
และการบริการประชาชน ตามหลักธรรมาภิบาล
|