สายตรงนายก อบต.

รับเรื่องร้องทุกข์

<<พฤษภาคม 2567>>
พฤอา
  1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
  

อาทิตย์ ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2567
เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ ตอบข้อซักถามได้อย่างชัดเจน ถูกต้องน่าเชื่อ?
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
ควรปรับปรุง
การใช้งานเว็บไซต์?
ดีมาก
ดี
พอใช้
     
ออนไลน์
วันนี้
582
วานนี้
214


เริ่มนับ
     
หมวดหมู่ :

งานทะเบียนราษฎร


การแจ้งเกิด
ให้เจ้าบ้านหรือบิดา มารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่น ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเกิด
 หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
 1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน บิดา มารดา หรือผู้แจ้ง
 2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
 3. หนังสือรับรองการเกิดจากสถานพยาบาล (ถ้ามี)
 การแจ้งเกิดเกินกำหนด
 หมายถึงกรณีมีคนเกิด แต่ไม่ได้แจ้งการเกิดภายในเวลากำหนดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเกิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 
การแจ้งตาย
ให้เจ้าบ้านเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือในกรณีไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาพบศพ
 หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
 1. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
 2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย (ถ้ามี)
 3. หนังสือรับรองการตายจากสถานพยาบาล (ถ้ามี)
 การแจ้งตายเกินกำหนด หมายถึง กรณีมีคนตายแต่ไม่ได้แจ้งการตายภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาตายหรือพบศพ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 
การแจ้งการย้ายที่อยู่
เมื่อผู้อยู่ในบ้านออกจากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ที่ผู้นั้นย้ายออกไป โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
 หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
 1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
 2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
 3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมายให้ทำหน้าที่แทน)
 4. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
 5. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ กรณีใบแจ้งการย้ายที่อยู่สูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญก่อนนำไปย้ายเข้า ผู้ย้ายเข้าสามารถขอใบแทนได้ ที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ออกใบแจ้งการย้ายที่อยู่ โดยยื่นคำร้องพร้อมสำเนาการแจ้งความประกอบเรื่อง หรือนำใบแจ้งย้ายที่อยู่ซึ่งชำรุดไปแสดง
 
การขอมีบัตรประจำตัวประชาชน

1. กรณีทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
  ผู้มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ ต้องยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 500 บาท
 หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
 1. สำเนาทะเบียนบ้าน
 2. สูติบัตรหรือหลักฐานอื่นที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น ใบสุทธิ หรือสำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง ฯลฯ เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
 3. หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น ข้าราชการ บิดา มารดา ฯลฯ ไปรับรองด้วย
 4. กรณีบิดาและมารดา เป็นบุคคลต่างด้าวให้นำใบสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวของบิดาและมารดาแสดงด้วย
 
2. กรณีบัตรเดิมหมดอายุ
  บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุบัตร 6 ปี นับแต่วันออกบัตร เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ ให้ทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุหากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
  การทำบัตรก่อนบัตรเดิมหมดอายุ หากผู้ถือบัตรมีความประสงค์จะต่ออายุบัตร ก่อนบัตรเดิมหมดอายุ สามารถทำได้ภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ
 หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
 1. สำเนาทะเบียนบ้าน
 2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ

3. กรณีบัตรหาย บัตรถูกทำลาย หรือบัตรชำรุด
  เมื่อบัตรหาย บัตรถูกทำลาย หรือบัตรเดิมชำรุด ไม่จำเป็นต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียน ประสงค์ขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันบัตรเดิมหาย บัตรถูกทำลาย หรือบัตรชำรุด หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
 หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
 1. สำเนาทะเบียนบ้าน
 2. หลักฐานอื่นที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น ใบอนุญาตขับขี่ ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนบ้าน นักเรียน
 3. หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ไปรับรองด้วย
 4. กรณีบัตรเดิมชำรุด ให้นำบัตรเดิมมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

 4. กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน
  หากเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือเปลี่ยนชื่อ และชื่อสกุล ให้เปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัวหรือชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
 หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
 1. สำเนาทะเบียนบ้าน
 2. บัตรเดิม
 3. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือชื่อตัวและชื่อสกุล

 5. กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่
 ผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรให้ตรงกับทะเบียนบ้านก็ได้ หากไม่ขอเปลี่ยนบัตร ก็สามารถใช้ได้จนกว่าบัตรนั้นจะหมดอายุ
 หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
 1. สำเนาทะเบียนบ้าน
 2. บัตรประจำตัวประชาชนเดิม


 

ขอใบอนุญาตต่างๆ


ขอใบอนุญาตต่างๆ
การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร มีดังนี้
(1) แบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ ข.1)
(2) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดงวัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่หน่วยงานซึ่งมีอำนาจรับรองออกให้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(3) สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่ากับต้นฉบับจริง และเจ้าของที่ดินลงนาม รับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้าจำนวน 5 ชุด
(4) หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดินหรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณี ผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน 1 ชุด
(5) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต, ผู้รับมอบอำนาจ, ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล และเจ้าของที่ดิน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
(6) หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของสถาปนิกวิศวกรผู้ออกแบบและคำนวณพร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ (กรณีอาคารที่ขออนุญาตอยู่ในประเภทเป็นวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม) จำนวน 1 ชุด
(7) แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด
(8) รายการคำนวณโครงสร้าง จำนวน 1 ชุด
(9) โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาดสด ภัตตาคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ ต้องแสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 5 ชุด และรายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน 1 ชุด
 

การชำระภาษี


ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
กำหนดระยะเวลาที่ชำระภาษี เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
 ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดิน ซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
 ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง เช่น ตึก อาคาร คอนโดมิเนียม หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นในเขตเทศบาล ซึ่งใช้หาประโยชน์โดยใช้เป็นสถานประกอบการพาณิชย์ต่าง ๆ ให้เช่า หรือให้ผู้อื่นอาศัยอยู่ในข่ายต้องชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินกับเทศบาล
 การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยขอรับแบบพิมพ์แสดงรายการทรัพย์ (แบบ ภ.ร.ด. 2) ส่วนการคลัง ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่ พร้อมกรอกรายละเอียด และยื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อประเมินภาษี
 เมื่อได้รับใบแจ้งการประเมินภาษี (แบบ ภ.ร.ด. 8) จากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่แล้วชำระภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้งการประเมิน
สถิติเว็บไซต์
 
สถิติเว็บไซต์
 
สถิติเว็บไซต์
 
สถิติเว็บไซต์
 
 
ภาษีบำรุงท้องที่
กำหนดระยะเวลาที่ชำระภาษี เดือน มกราคม – เมษายน ของทุกปี
 ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
 การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ โดยให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในตำบลหนองกุงใหญ่ไปยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (แบบ ภ.บ.ท. 5) ที่ส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่ ภายในเดือนมกราคมของปีแรกที่มีการตีราคากลางที่ดิน และชำระภาษีในเดือนมกราคม – เมษายนของทุกปีกรณีเป็นเจ้าของที่ดินใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดิน เจ้าของที่ดินจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
 
ภาษีป้าย
กำหนดระยะเวลาที่ต้องชำระภาษี เดือน มกราคม – มีนาคม ของทุกปี
 ป้ายที่ต้องชำระภาษี คือ ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
 
วิธีการใช้งานระบบการให้บริการ E - Services

การเข้าสู่หน้าเว็บไซต์

ไฟล์เอกสารประกอบ 1 : ดาวน์โหลดไฟล์
 

การจดทะเบียนพาณิชย์

บทบาทภารกิจ


ไฟล์เอกสารประกอบ 1 : ดาวน์โหลดไฟล์
 

ฐานะทางการเงิน


 
ไฟล์เอกสารประกอบ 1 : ดาวน์โหลดไฟล์
 



ลิงค์บริการที่น่าสนใจ

ลิงค์หน่วยงานต่างๆ

  ศูนย์ปฏิบัติการสพฐ. ศูนย์ปฏิบัติการ มุมศึกษานิเทศ โรงเรียนในฝัน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรมสรรพากร กรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ราคากลางสินค้า กรมการค้าภายใน ศาลปกครอง กระทรวงพาณิชย์ ฐานข้อมูลหน่วยงานของรัฐ สำนักงบประมาณ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น SML ตำบลคนไทยดอทคอม ความรู้เรื่องกฎหมาย