สายตรงนายก อบต.

รับเรื่องร้องทุกข์

กฎหมายและระเบียบต่างๆ

<<เมษายน 2567>>
พฤอา
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
     

ศุกร์ ที่ 19 เมษายน พ.ศ.2567
เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ ตอบข้อซักถามได้อย่างชัดเจน ถูกต้องน่าเชื่อ?
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
ควรปรับปรุง
การใช้งานเว็บไซต์?
ดีมาก
ดี
พอใช้
     
ออนไลน์
306
วันนี้
305
วานนี้
1744


เริ่มนับ
     

แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต


                                                                     รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยง

                                       ของการดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต

                             หรือก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนร่วม

                                   องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.๒๕๖๔

....................................................................................................................................................................

 .บทนำ

           การทุจริตคอร์รัปชั่น คือการใช้อำนาจหรืออิทธิพลในตำแหน่งหน้าที่ที่ตนเองมีอยู่เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเอง ญาติ พี่น้อง และพวกพ้อง การทุจริตเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งในการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสังคมไทย องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ(Transparency International) มีความเห็นว่า จำเป็นต้องดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ คือต้องมีการออกแบบมาตรการแก้ไขปัญหาการทุจริตเป็นการเฉพาะประเทศ โดยจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ปัญหาอย่างรอบด้าน ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการทุจริต และลักษณะของความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงต้องพิจารณาปัญหาบนพื้นฐานของความเป็นจริง และความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับองค์กรหรือโครงสร้างทางสถาบันของชาติที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่อาจจะถูกกระทบจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวด้วย โดยในประเทศไทย การทุจริตมีอยู่ในทุกระดับตั้งแต่การเมืองในระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น ระดับข้าราชการ ทั้งฝ่ายพลเรือน ทหาร และตำรวจ ตลอดจนการทุจริตในภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมงานกับภาครัฐการมีผลประโยชน์ทับซ้อนถือเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นประเภทหนึ่งเพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์ส่วนบุคคล โดยการละเมิดต่อกฎหมายหรือจริยธรรมด้วยการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ไปแทรกแซงการใช้ดุลยพินิจในกระบวนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐ จนทำให้เกิดการละทิ้งคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ขาดความเป็นอิสระ ความเป็นกลางและความเป็นธรรม จนส่งผลกระทบต่อส่วนรวม และทำให้ผลประโยชน์ขององค์กร หน่วยงาน และสังคมต้องสูญเสียไป

         

 .การวิเคราะห์ความเสี่ยง       ในการเกิดการทุจริตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการบ่งชี้ความเสี่ยงของการทุจริตที่มีอยู่ในองค์กรโดยการประเมินโอกาสของการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นตลอดจนบุคคลหรือหน่วยงานที่อาจเกี่ยวข้องกับการกระทำทุจริต เพื่อพิจารณาว่าการควบคุมและการป้องกันการทุจริตที่มีอยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่การทุจริตในระดับท้องถิ่น พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของการทุจริตในระดับท้องถิ่นได้แก่การกระจายอำนาจลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม้ว่าโดยหลักการแล้วการกระจายอำนาจมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้บริการต่าง ๆ ของรัฐสามารถตอบสนองต้องความต้องการของชุมชนมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ในทางปฏิบัติทำให้แนวโน้มของการทุจริตในท้องถิ่นเพิ่มมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกันลักษณะการทุจริตในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกเป็น ๗ ประเภท ดังนี้

        ๑) การทุจริตด้านงบประมาณ การทำบัญชีการจัดซื้อจัดจ้าง และการเงินการคลัง ส่วนใหญ่เกิดจากการละเลยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

        ๒) สภาพหรือปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคล

        ๓) สภาพการทุจริตอันเกิดจากช่องว่างของกฎระเบียบและกฎหมาย

        ๔) สภาพหรือลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและขาดคุณธรรมจริยธรรม                 

        ๕) สภาพหรือลักษณะปัญหาที่เกิดจากการขาดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

        ๖) สภาพหรือลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากการตรวจสอบขาดความหลากหลายในการตรวจสอบจากภาคส่วนต่างๆ

        ๗) สภาพหรือลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากอำนาจ บารมีและอิทธิพลท้องถิ่นสาเหตุและปัจจัยที่นำไปสู่การทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถสรปุ เป็นประเด็นได้ ดังนี้

              ๑) โอกาส แม้ว่าในปัจจุบันมีหน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแต่พบว่า ยังคงมีช่องว่างที่ทำให้เกิดโอกาสของการทุจริต ซึ่งโอกาสดังกล่าวเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข็มแข็ง กฎหมาย กฎระเบียบไม่รัดกุม และอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะข้าราชการระดับสูงก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ทำให้เกิดการทุจริต

              ๒) สิ่งจูงใจ เป็นที่ยอมรับว่าสภาวะทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นเรื่องของวัตถุนิยม สังคมทุนนิยม ทำให้คนในปัจจุบันมุ่งเน้นที่การสร้างความร่ำรวย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่มีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมการทุจริตมากยิ่งขึ้น

              ๓) การขาดกลไกในการตรวจสอบความโปร่งใส การทุจริตในปัจจุบันมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นโดยเฉพาะการทุจริตในเชิงนโยบายที่ทำให้การทุจริตกลายเป็นความชอบธรรมในสายตาของประชาชนขาดกลไกการตรวจสอบความโปร่งใสที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะเข้าไปตรวจสอบการทุจริตของ ๔ บุคคลเหล่านี้

               ๔) การผูกขาด ในบางกรณีการดำเนินงานของภาครัฐ ได้แก่ การจัดซื้อ-จัดจ้าง เป็นเรื่องของการผูกขาด ดังนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องเป็นห่วงโซ่ผลประโยชน์ทางธุรกิจ ในบางครั้งพบบริษัทมีการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่เพื่อให้ตนเองได้รับสิทธิในการดำเนินงานโครงการของภาครัฐ รูปแบบของการผูกขาด ได้แก่ การผูกขาดในโครงการก่อสร่างและโครงสร่างพื้นฐานภาครัฐ

               ๕) การได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ความยากจนถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ข้าราชการมีพฤติกรรมการทุจริต เพราะความต้องการที่จะมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทำให้เจ้าหน้าที่ต้องแสวงหาช่องทางเพื่อเพิ่มรายได้พิเศษให้กับตนเองและครอบครัว

                ๖) การขาดจริยธรรม คุณธรรม ในสมัยโบราณ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณธรรมที่ได้รับการเน้นเป็นพิเศษถือว่าเป็นเครื่องวัดความดีของคน แต่ในปัจจุบัน พบว่า คนมีความละอายต่อบาปและเกรงกลัวบาปน้อยลง และมีความเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้น มองแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าที่จะยึดผลประโยชน์ส่วนรวม

                ๗) มีค่านิยมที่ผิด ปัจจุบันค่านิยมของสังคมได้เปลี่ยนจากยกย่องคนดีคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นยกย่องคนที่มีเงิน คนที่เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี คนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มีค่านิยมที่ผิดเห็นว่าการทุจริตเป็นวิถีชีวิตเป็นเรื่องปกติธรรมดา เห็นคนซื่อเป็นคนเซ่อ เห็นคนโกงเป็นคนฉลาด ย่อมจะทำการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยไม่มีความละอายต่อบุญและบาป และไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายของบ้านเมือง

 

 . การวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดการทุจริต หรือการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่กระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เป็นระบบในการบริหารปัจจัยและควบคุมกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อลดมูลเหตุของโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายจากการปฏิบัติงานที่อาจเกิดการทุจริตหรือการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ อันเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงใกล้ชิดกับการทุจริต กล่าวคือยิ่งมีสถานการณ์หรือสภาวการณ์ของการขัดกัน ของผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมมากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสก่อให้เกิดหรือนำไปสู่การทุจริตมากขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่ ได้วิเคราะห์ความเสี่ยงของการดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ ที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตหรือก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่ประจำปีงบประมาณ  ๒๕๖๔ ดังนี้

       ๑. การพิจารณากระบวนงานที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการทุจริต หรืออาจก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม-กระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงิน และมีช่องทางที่จะทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง-กระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีโอกาสใช้อย่างไม่เหมาะสม คือมีการเอื้อประโยชน์หรือให้ความช่วยเหลือพวกพ้อง การกีดกัน การสร้างอุปสรรค-กระบวนงานที่มีช่องทางเรียกร้อง หรือรับผลประโยชน์จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลทางลบต่อผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง

       . กระบวนงานที่เข้าข่ายมีโอกาสเสี่ยงต่อการทุจริตหรืออาจก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม-การรับจ่ายเงิน-การจัดซื้อจัดจ้างและการจ้างเหมาบริการ-การกำหนดคุณลักษณะวัสดุ ครุภัณฑ์ การกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าเสนอราคา-การตรวจรับวัสดุ ครุภัณฑ์-การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนและระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง -การคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นพนักงานจ้าง-การจัดหาพัสดุ-การจัดทำโครงการฝึกอบรมศึกษาดูงาน อบรม ประชุมและสัมมนา-การเบิกค่าตอบแทน-การใช้รถราชการ-อื่นๆ ฯลฯ

       . ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากไม่มีการป้องกันที่เหมาะสม-สูญเสียงบประมาณ-เป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจหน้าที่ทำให้ผู้ปฏิบัติใช้โอกาสกระทำผิดในทางมิชอบด้วยหน้าที่-เสียชื่อเสียงความน่าเชื่อถือของหน่วยงาน-ถูกร้องเรียน ถูกกล่าวหา

       . แนวทางการป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการทุจริต หรืออาจก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม

            ) จัดทำประกาศประมวลจริยธรรมของข้าราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่

            ) จัดทำประกาศเจตจำนงการบริหารงานด้วยความสุจริต

          ๓) จัดทำประกาศกำหนดนโยบายความโปร่งใส่และตรวจสอบได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่

          ) จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี  ๒๕๖๔

          ) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่

          ) จัดทำมาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต ได้แก่ มาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะมาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต มาตรการป้องกันการรับสินบน เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมมาตรการการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน มาตรการการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ

          ) จัดโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย

          ) จัดโครงการท้องถิ่นโปร่งใส ใฝ่คุณธรรม ตรวจสอบได้

          ) จัดโครงการฝึกอบรมด้านคุณธรรมจริยธรรม

         ๑๐) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

         ๑๑) ปลูกจิตสำนึกในการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสและตรวจสอบได้

        ๑๒) จัดช่องทางการร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้แก่ ร้องเรียนด้วยตนเองที่ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่   ๙ หมู่ ๔ ตำบลหนองกุงใหญ่  อำเภอเมืองขอนแก่น   จังหวัดขอนแก่น ๔0000  หรืองานกฎหมายและคดี  สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่   เบอร์โทรศัพท์ /โทรสาร  ๐๔๓๒๕๒๐๒๕ เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่    Facebook องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงใหญ่

 .สรปุผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต หรืออาจก่อให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้ ประเด็นหลัก ดังนี้

       ๑. กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามระเบียบ

      . การใช้อำนาจหน้าที่เรียกรับผลประโยชน์

       . การเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง

       . การเบิกจ่ายเงินที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ

 


ไฟล์เอกสารประกอบ :
    ไฟล์เอกสาร 1 :  ดาวน์โหลดไฟล์
    ไฟล์เอกสาร 2 : แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต ประจำปี 2563  ดาวน์โหลดไฟล์
    ไฟล์เอกสาร 3 : แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติชอบ  ดาวน์โหลดไฟล์
    ไฟล์เอกสาร 4 : คู่มือการปฏิบัติงานเรื่องร้องเรียนการทุจริต  ดาวน์โหลดไฟล์
    ไฟล์เอกสาร 5 : การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปี 2565  ดาวน์โหลดไฟล์
    ไฟล์เอกสาร 6 : การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปี 2566  ดาวน์โหลดไฟล์
    ไฟล์เอกสาร 7 : 022 แนวทางปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ  ดาวน์โหลดไฟล์
    ไฟล์เอกสาร 8 : 022/67 แนวทางปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ  ดาวน์โหลดไฟล์
    ไฟล์เอกสาร 9 : แนวทางปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ 2567  ดาวน์โหลดไฟล์

 

ลิงค์บริการที่น่าสนใจ

ลิงค์หน่วยงานต่างๆ

  ศูนย์ปฏิบัติการสพฐ. ศูนย์ปฏิบัติการ มุมศึกษานิเทศ โรงเรียนในฝัน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรมสรรพากร กรมบัญชีกลาง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ราคากลางสินค้า กรมการค้าภายใน ศาลปกครอง กระทรวงพาณิชย์ ฐานข้อมูลหน่วยงานของรัฐ สำนักงบประมาณ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น SML ตำบลคนไทยดอทคอม ความรู้เรื่องกฎหมาย